เปลี่ยนโค้ชทีมชาติ

สิ่งหลังที่ตามมา หลังจากฟุตบอลรายการใหญ่ๆ อย่างฟุตบอลโลก ได้ผ่านพ้นไป คือการ เปลี่ยนโค้ชทีมชาติ จึงเป็นที่มาของวันนี้ ว่าพวกเรา เก่งหลังเกม จะมาชวนเพื่อนๆ หาเหตุผลกันซักหน่อย ว่าทำไมการเปลี่ยนโค้ชทีมชาติ ถึงต้องทำหลังจากจบรายการใหญ่ๆ

เปลี่ยนโค้ชทีมชาติ ทำไมถึงต้องทำหลังจากจบรายการใหญ่ๆ

ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ที่เห็นได้ทั่วไป ว่าหลังจากที่ รายการใหญ่ๆ อย่าง ฟุตบอลโลก หรือ ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป จบลงไป จะเกิดการเปลี่ยนแปลง ในส่วนของตัวกุนซือ

อย่างใน ฟุตบอลโลก 2022 หลายๆ ชาติ ก็มีการเปลี่ยนแปลง ในตำแหน่งของกุนซือใหญ่ หลังจากทีมชาติของพวกเขา กระเด็นตกรอบ ฟุตบอลโลก ในครั้งดังกล่าว อาทิ

1. คาร์ลอส เคยรอซ กุนซือทีมชาติอิหร่าน ที่พาทีมตกรอบแรก

2. เคราร์โด้ มาร์ติโน่ กุนซือทีมชาติเม็กซิโก ที่ตกรอบแรก ซึ่งเห็นได้ไม่บ่อยนัก

3. โรแบร์โต้ มาร์ติเนซ กุนซือทีมชาติเบลเยี่ยม ที่คุมทีมมาอย่างยาวนาน แต่ไม่สามารถ ประสบความสำเร็จใดๆ ได้เลย

4. อ็อตโต้ อัดโด้ กุนซือทีมชาติกาน่า ที่ทำทีมตกรอบแรก แม้จะเข้ามาคุมทีม ได้ไม่ถึงปีก็ตาม

5. เปาโล เบนโต้ กุนซือทีมชาติเกาหลีใต้ ที่พาทีมผ่านรอบแบ่งกลุ่ม แต่ตกรอบ 16 ทีมสุดท้าย แบบไม่ได้ลุ้น

6. หลุยส์ เอ็นริเด้ กุนซือทีมชาติสเปน ที่ขึ้นชื่อเรื่องอินดี้ จนทีมตกรอบ 16 ทีมสุดท้าย ทั้งๆ ที่ออกตัวได้อย่างร้อนแรง

7. เฟร์นานโด ซานโตส กุนซือทีมชาติโปรตุเกส ผู้เคยพาทีมคว้าแชมป์ ยูโร 2016 แต่บอลโลกครั้งนี้ จบเพียงรอบก่อนรองชนะเลิศ

หรือจะเป็น สองกุนซือที่ลาออกไว้ล่วงหน้าแล้วอย่าง

1. ติเต้ กุนซือทีมชาติบราซิล ที่พาทีมจอดป้ายเพียง รอบก่อนรองชนะเลิศ ทั้งๆ ที่เป็นเต็งหนึ่งของรายการ

2. หลุยส์ ฟาน กัล กุนซือทีมชาติเนเธอร์แลนด์ ที่มีปัญหาสุขภาพ

ทำให้ฟุตบอลโลกครั้งนี้ เพียงแค่รายการเดียว มีการเปลี่ยนแปลง ในส่วนของกุนซือใหญ่ เกิน 1/4 ของทีมที่เข้าแข่งขัน ไม่รวม กุนซือหลายๆ ราย ที่โดนพิจารณาว่า จะได้คุมทีม ในรายการหน้าหรือไม่

ซึ่งการเปลี่ยนแปลง ในส่วนของกุนซือทีมชาตินั้น มักจะเป็นเรื่องปกติ ที่ทำกันหลังจาก เสร็จสิ้นภารกิจ ในรายการระดับเมเจอร์ อย่างฟุตบอลโลก หรือฟุตบอลชิงแชมป์ทวีปอยู่แล้ว

เหตุผลก็เนื่องจาก ฟุตบอลโลก และฟุตบอลยูโร ที่เป็นสองเมเจอร์หลัก ของทีมในยุโรป จะมีระยะเวลาในการแข่งขัน ห่างกันทุกๆ 2 ปี

ทำให้หากสมาคมฟุตบอล ของแต่ละประเทศในยุโรป ไม่พอใจผลงาน ของกุนซือของพวกเขา ในรายการเมเจอร์ใดๆ ก็ตาม ก็มักจะมีการเปลี่ยนแปลง หลังจบรายการนั้นเลย

เพื่อให้กุนซือคนใหม่ ที่จะเข้ามารับช่วงต่อ จะมีระยะเวลา ในการเตรียมทีมพอสมควร แถมหลังจากฟุตบอลโลก 2022 ที่เพิ่งผ่านพ้นไป เมื่อไม่นานมานี้ ในอนาคต ก็จะมีฟุตบอลรายการคัดเลือก ของฟุตบอลชิงแชมป์ทวีป

ตัวอย่างเช่น ฟุตบอลยูโร 2024 รอบคัดเลือก ที่จะเล่นกันในอีก 2 ปีข้างหน้า จะเริ่มทำการคัดเลือก ในเดือนมีนาคม 2023 หรือเรียกง่ายๆ ว่า ในช่วงฟีฟ่าเดย์ ครั้งต่อไปนั่นเอง

และเพื่อให้มีความต่อเนื่อง หากกุนซือเดิม ได้รับโอกาสในการคุมทีม ในรายการต่อไป ก็มักจะได้โอกาส ไปตลอดรายการที่เหลือ อย่างในรายของ แกเร็ธ เซาท์เกธ ที่โดนเสียงวิจารณ์ค่อนข้างเยอะ

อย่างไรก็ตาม สมาคมฟุตบอลอังกฤษ ก็เลือกที่จะให้โอกาสเจ้าตัว คุมทีมไปถึงศึก ยูโร 2024 นั่นแปลว่า เก้าอี้ของเจ้าตัวนั้น จะมั่นคงอย่างน้อยๆ ก็จนจบรายการนั้นอยู่ดี นอกเสียจากว่า เจ้าตัวจะคุมทีม ตกรอบคัดเลือกนั่นเอง

ในส่วนของ ชาติในทวีปอื่นๆ ก็มักจะเป็นรูปแบบเดียวกัน คือหากจะมีการเปลี่ยนแปลง ก็จะเปลี่ยนแปลงหลังจาก ที่ฟุตบอลรายการใหญ่ๆ จบลง นอกเสียจากว่า จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงจริงๆ

ยกตัวอย่าง ทีมชาติญี่ปุ่น ที่มีการเปลี่ยนกุนซือ ในช่วงก่อนการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2018 มาจากฟอร์มในระยะหลังของ วาฮิด ฮาลิลฮ็อดซิช แทบจะไม่ชนะใครเลย หลังพวกเขาผ่านรอบคัดเลือก ของฟุตบอลโก 2018

ทำให้มีการดัน อากิระ นิชิโนะ เข้ามาคุมทีมแทน โดยมี ฮาจิเมะ โมริยาสุ กุนซือของทีมคนปัจจุบัน เป็นผู้ช่วยในฟุตบอลโลก ที่รัสเซีย นั่นเอง

จึงเป็นเหตุผลง่ายๆ ที่ชาติส่วนใหญ่มักจะมีการปรับกุนซือ ในช่วงหลังจากเสร็จสิ้น ฟุตบอลรายการใหญ่ๆ อย่างฟุตบอลโลก หรือฟุตบอลชิงแชมป์ทวีป นอกเสียจากว่า อาการของพวกเขา ไม่ไหวจริงๆ นั่นแหละ

แฟนบอลโปรไลเซนส์

By KICKOFF

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *