ทำไม ค่าตัว นักฟุตบอลไทย แพง

เกาะกระแสฟุตบอลไทย กันซักหน่อย หลังจากที่ ทีมชาติไทย มีคิวลงแข่งขัน ฟุตบอลเอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ ในช่วงเดือนธันวาคม โดยหนึ่งในนักเตะไทย ที่เพิ่งย้ายทีม ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา อย่าง เจ้ายิม วรชิต กนิตศรีบำเพ็ญ ด้วยค่าตัวราวๆ 50 ล้านบาท จนหลายคนสงสัย ว่าทำไม ค่าตัว นักฟุตบอลไทย แพง ถึงระดับนี้

วันนี้ เก่งหลังเกม จะชวนเพื่อนๆ มาวิเคราะห์กันเล่นๆ ว่าเพราะอะไร นักฟุตบอลชาวไทย ถึงมีค่าตัวแพงขนาดนี้ ผ่าน บทวิเคราะห์ฟุตบอล ในสไตล์ของพวกเรา

ทำไม ค่าตัว นักฟุตบอลไทย แพง

อย่างแรก ค่าตัวดังกล่าว เป็นเพียงการคาดการณ์เท่านั้น ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่ประเด็นหลัก ของบทความนี้อยู่ดี เพราะต้องบอกว่า ค่าตัวของนักฟุตบอลไทย ถือว่าแพงจนน่าตกใจ โดยปัจจุบัน สถิติไทยลีก ยังคงเป็นของ ธนบูรณ์ เกษารัตน์ สมัยที่ย้ายจาก เมืองทอง ยูไนเต็ด ไปอยู่กับ เชียงราย ยูไนเต็ด ด้วยค่าตัวกว่า 50 ล้านบาท

แต่สถิติรองลงมา ก็มีหลายต่อหลายคน ที่มีค่าตัวระดับ หลายสิบล้านบาท ซึ่งหากวัดจาก เงินรางวัลและเงินอุดหนุนทีม ต้องยอมรับตามตรง ว่าในวงการฟุตบอลไทย เม็ดเงินต่างๆ ไม่ค่อยจะสมเหตุสมผลกัน

ถ้าเทียบกับ สโมสรใหญ่ๆ ของโลกใบนี้ เงินที่จะใช้จ่ายในสโมสร เกิดจากรายได้ ที่สโมสรสามารถสร้างขึ้น ทั้งการขายผู้เล่น การขายตั๋วเข้าชม และของที่ระลึก รางวัลจากการแข่งขัน และที่สำคัญ คือสปอนเซอร์ ที่สนับสนุนในทุกช่องทาง

ส่วนวงการฟุตบอลไทย เป็นที่รู้กันดี ว่าเงินส่วนใหญ่ มาจากเจ้าของทีม ทั้งเงินเดือนของผู้เล่น เงินที่จะซื้อนักเตะ รวมถึงรายจ่ายทุกทิศทุกทาง จะมาจากเงินของเจ้าของทีมทั้งนั้น เทียบกับรายได้จากสปอนเซอร์ รวมถึงช่องทางอื่นๆ ไม่มีทางซื้อนักเตะชื่อดัง ด้วยเงินระดับนี้ได้

ต้องทำความเข้าใจ กันแบบนี้ก่อนครับ สโมสรฟุตบอลในไทย ส่วนใหญ่เจ้าของทีม คือตัวบุคคลระดับมหาเศรษฐี ที่จะนำเอาธุรกิจของตน หรือคนใกล้ตัว เข้ามาเป็นสปอนเซอร์หลัก เช่น บีจี ปทุม ยูไนเต็ด ที่มี สิงห์ คอร์ปอเรชั่น เป็นเจ้าของ และใช้ผลิตภัณฑ์อย่าง LEO มาเป็นสปอนเซอร์คาดอก

หรืออย่าง ทรู แบ็งคอก ยูไนเต็ด ที่มีกลุ่มทุนซีพี ที่เป็นเจ้าของ ทรู คอร์ปอเรชั่น ก็ใช้ TRUE มาเป็นสปอนเซอร์ รวมถึงทีมอื่นๆ อีกมากมาย ก็ทำอย่างนี้เช่นเดียวกัน ราวกับคำว่า อัตยาย ซื้อขนมยาย ยังไงยังงั้นเลยครับ

มาถึงตรงนี้ เพื่อนๆ น่าจะเห็นภาพกันแล้ว ว่าเจ้าของทีมฟุตบอลไทย ไม่รวยจริง ไม่เงินเหลือจริงๆ ทำไม่ได้หรอกครับ เพราะแถวนี้แม่งเถื่อน บอกตรงๆ นะ ไม่เถื่อนๆ จริงๆ แม่งอยู่ไม่ได้

ดังนั้น การที่นักเตะไทย ฝีเท้าดีซักคน จะย้ายทีมจากทีมใหญ่ๆ ไปสู่ทีมใหญ่ๆ อีกทีมนึง ย่อมต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล ไม่งั้นเจ้าของเดิม ไม่มีทางยอมปล่อย ให้เป็นหอกข้างแคร่ อยู่แล้ว

เราจึงได้เห็นว่า ค่าตัวในการย้ายทีม รวมถึงค่าเหนื่อยของ นักฟุตบอลไทยในปัจจุบัน สูงจนน่ากลัว จนหลายคนมองว่า เป็นเหมือนฟองสบู่ที่รอวันแตก เพราะหากเจ้าของทีม เลิกสนับสนุนทีม สโมสรจะไม่สามารถ ยืนหยัดได้ด้วยขาของตัวเอง

ตัวอย่างเช่น เมืองทอง ยูไนเต็ด ที่มีเจ้าของเป็นกลุ่มสยามกีฬา โดยในช่วงหลังสยามกีฬา ประสบปัญหาการเงิน ระดับวิกฤติ จนทำให้ กิเลนผยอง ต้องขยายตัวหลักยกทีม ผู้เล่นที่มีค่าเหนื่อยแพงๆ ก็ถูกปล่อยออกจากทีม ไปจนเกือบหมด

บางรายก็มีปัญหา เรื่องค้างค่าเหนื่อย จนถึงขึ้นโรงขึ้นศาลกัน ก็มีให้เห็นมากมายนัก ซึ่ง ณ ปัจจุบัน ทาง เมืองทอง ยูไนเต็ด ที่ได้แยกทางกับ สปอนเซอร์หลัก อย่าง เอสซีจี แล้ว กลายเป็นทีมที่ เน้นปั้นดาวรุ่งของสโมสร ผิดจากเมื่อก่อนลิบลับ

เราจะเห็นอีกตัวอย่างนึง นั่นก็คือ ชลบุรี เอฟซี ที่เจ้าของทีม เลิกทุ่มซื้อนักเตะ มานานมากแล้ว โดยส่วนใหญ่จะใช้ เด็กในอคาเดมี่ รวมถึงตัวเก๋าๆ ที่ค่าตัวและค่าเหนื่อยไม่แพง มาคอยประคองน้องๆ ในทีม

ล่าสุดก็จัดการขาย วรชิต ด้วยค่าตัวแพงระยับแน่นอน เหตุก็เพราะทาง ฉลามชล เจอกับปัญหา COVID-19 เช่นเดียวกัน ซึ่งต่างกับทีมที่มีเจ้าของ อย่าง สิงห์ CP และ มาดามแป้ง ที่เป็นเจ้าของ เมืองไทยประกันภัย ที่ยังคงสามารถ ใช้เงินเหมือนเกลียด ได้อยู่เหมือนเดิม

นั่นคงไม่แปลก หากจะมีนักเตะทีมชาติไทยซักคน ที่มีฝีเท้าโดดเด่น หาตัวจับยาก และเป็นที่ต้องการของทุกคน หากจะมีการย้ายทีมเกิดขึ้น สิ่งที่จะตามมานั่นคือ จำนวนเงินมหาศาล ทั้งค่าเหนื่อย อันเป็นเรื่องธรรมดา เพราะมันไม่ใช่การทำธุรกิจ ระหว่างสองสโมสร แต่เป็นการที่คนรวยคนหนึ่ง ต้องทำให้คนรวยอีกคนหนึ่ง ยอมใจอ่อน นั่นเอง

แฟนบอลโปรไลเซนส์

By KICKOFF

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *