บอลแบกอายุ คืออะไร และมีประโยชน์อะไร หลายชาติจึงเลือกวิธีเสียเปรียบแบบนี้

แฟนฟุตบอลหลายคน อาจจะเคยเห็น ฟุตบอลรายปกติทั่วไป ที่สามารถส่งใครก็ได้ลงเล่น ขอเป็นคนจากชาตินั้น หรือเป็นนักเตะในสโมสรนั้น รวมไปถึงฟุตบอลจำกัดอายุ อย่าง U19 หรือ U21 วันนี้เลยจะมาชวนคุย เกี่ยวกับ บอลแบกอายุ กันซักหน่อย

โดย เก่งหลังเกม จะชวนเพื่อนๆ คุยกันเกี่ยวกับ บอลแบกอายุ ว่ามันคืออะไร แล้วทำไมหลายชาติ จึงเลือกใช้วิธีที่เสียเปรียบ อย่างวิธีดังกล่าว ในการแข่งขันกัน

บอลแบกอายุ คืออะไร และมีประโยชน์อะไร หลายชาติจึงเลือกวิธีเสียเปรียบแบบนี้

เกริ่นกันก่อน ว่าฟุตบอลในโลกนี้ มีอยู่หลายประเภท อย่างฟุตบอลรายการทั่วไป จะนำนักเตะคนไหนมาเล่น ย่อมทำได้เสมอ เช่นฟุตบอลโลก รอบสุดท้าย ที่เป็นฟุตบอลรายการสำคัญที่สุด จะนำเอานักเตะ อายุ 16 ปี ไปด้วย ก็ไม่แปลกเลย

กลับกัน ยังมีฟุตบอลอีกมาก ทั้งในระดับสโมสร และในระดับนานาชาติ ที่ได้มีการ จำกัดอายุของผู้เล่น เช่นรายการ ชิงแชมป์โลก รุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี ก็ตามชื่อรายการ คือต้องใช้นักเตะ ที่อายุไม่เกิน 17 ปี ลงทำการแข่งขัน

หรือจะเป็นบางรายการ อย่างฟุตบอลเอเชี่ยนเกมส์ ที่ในยุคหลังๆ กำหนดให้ ใช้นักเตะที่อายุไม่เกิน 23 ปี ลงทำการแข่งขัน แต่สามารถนำแข้งอายุเกิน มาด้วยไม่เกิน ทีมละ 3 คน เช่นเดียวกับ ฟุตบอลโอลิมปิก

ทีนี้มาเข้าเรื่องกัน เกี่ยวกับการแบกอายุ ซึ่งก็หมายถึง ทีมนั้นๆ นำผู้เล่นอายุ ที่ไม่ถึงเกณฑ์ดังกล่าว ลงทำการแข่งขัน ยกตัวอย่างเช่น ฟุตบอลเอเอฟเอฟ U-23 แชมเปี้ยนชิพ 2022 หรือ AFF U-23 ที่กำลังทำการแข่งขันในขณะนี้

ทีมชาติไทยของเรา ใช้นักเตะจากชุด อายุไม่เกิน 19 ปี เป็นแกนหลัก โดยมีนักเตะจาก ชุดอายุไม่เกิน 23 ปี เพียงแค่ 2 คน เท่านั้น ทำให้นักเตะส่วนใหญ่ จะเสียเปรียบเรื่องอายุ รูปร่าง และประสบการณ์

แต่ไทย ไม่ใช่เพียงชาติเดียว ที่เคยทำอย่างนี้มาก่อน จริงๆ แล้วก็มีหลายชาติ ที่ใช้บอลแบกอายุ มาแต่ช้านาน แถมยังส่งผลดี ต่อทีมชาติในหลายๆ มิติ ตัวอย่างที่ชัดเจน ก็ทีมชาติญี่ปุ่น นั่นแหละครับ

อย่างฟุตบอลเอเชี่ยนเกมส์ ที่เราอธิบายไปก่อนหน้า ว่ารายการนี้ อนุญาตให้ใช้ นักเตะที่มีอายุไม่เกิน 23 ปี ลงทำการแข่งขัน พร้อมกับมีโควต้า แข้งอายุเกินอีก 3 คน เหมือนกับฟุตบอลโอลิมปิก

ทีมชาติญี่ปุ่น ในฟุตบอลเอเชี่ยนเกมส์ เลยจัดการส่งผู้เล่น จากชุดอายุไม่เกิน 21 ปี ลงทำการแข่งขันทั้งหมด โดยไม่มีแข้งอายุเกิน ลงแข่งขันซักเท่าไหร่

เหตุผลเพราะ ระยะห่างระหว่าง ฟุตบอลเอเชี่ยนเกมส์ กับฟุตบอลโอลิมปิก จะห่างกันอยู่ทุกๆ 2 ปี อยู่ทุกครั้ง ทำให้ ญี่ปุ่น ใช้นักเตะชุด U-21 ในเอเชี่ยนเกมส์ เพื่อให้นักเตะในชุดดังกล่าว เก็บประสบการณ์ เพื่อไว้เล่นในฟุตบอลโอลิมปิก

รวมถึงชาติอื่นๆ ก็ทำกันมาเช่นกัน บางชาติก็ทำมานาน เกิน 10 ปีแล้ว ส่วนทีมชาติไทยของเรา จัดเต็มมาตลอด เพิ่งจะมีครั้งนี้แหละครับ ที่เริ่มมองภาพไกล แบบประเทศอื่นเขาบ้าง

ประโยชน์อีกอย่าง มองจากชาติใกล้ตัวเรา อย่าง อินโดนีเซีย ในฟุตบอลรายการ เอเอฟเอฟ แชมเปี้ยนชิพ 2020 ที่เพิ่งผ่านพ้นไป ทัพ อินเหนา ขนผู้เล่นจากชุดเยาวชน มาเล่นหลายราย ก็ยังทะลุถึงรอบชิงชนะเลิศ

ซึ่งนักเตะหลายคน ได้ประสบการณ์ที่ดี และจะกลายเป็น คู่ปรับสำคัญในย่านอาเซียน สำหรับทัพช้างศึก ในอนาคตอย่างแน่แท้ ดูตัวอย่างจาก ปราตามา อาร์ฮาน ที่แจ้งเกิดเต็มตัว ก็ได้ไปเล่นใน เจลีก 2 กับ โตเกียว เวอร์ดี้

ดังนั้นการส่งทีมแข่ง แบบบอลแบกอายุ มักจะใช้กับรายการ ที่ไม่ได้สำคัญนัก หรือในยามที่ต้องการ มองประโยชน์ในระยะยาว แต่ทั้งหมดทั้งมวล ก็อยู่ที่วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร และความเข้าใจของแฟนบอล

อย่างทีมชาติไทย หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงแนวคิด ต่อให้ได้แชมป์ซีเกมส์ และเอเอฟเอฟ แชมเปี้ยนชิพ ทุกสมัย ก็ไม่ได้มีอะไรการันตี ว่าจะประสบความสำเร็จมากขึ้น ในเวทีระดับโลก หรือที่พูดได้ว่า ก้าวข้ามอาเซียน ไม่ได้ซักที

แฟนบอลโปรไลเซนส์

By KICKOFF

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *